วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

เนื้อหาสัปดาห์ที่ 2

การดูแลรักษาอวัยวะภายนอก
การทำความสะอาดผิวหนัง
1. 
อาบน้ำถูสบู่ ชำระร่างกายให้สะอาด อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง คือ ตอนเช้า และตอนเย็น
2. 
เช็ดตัวให้แห้ง ทาแป้ง และเปลี่ยนเสื้อผ้าชุดใหม่ที่สะอาดทุกครั้ง
3. 
ควรออกกำลังกาย และให้ผิวหนังได้รับแสงแดดอ่อน ๆ ผิวหนังที่สะอาดทำให้เรารู้สึกสดชื่น ไม่มีกลิ่น และไม่เป็นโรคผิวหนัง
ตา เป็นอวัยวะภายนอกที่สำคัญยิ่งของคนเรา เรามีตา 2 ตา ตาของเรามีหน้าที่ดูสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเราถ้าตาบอดเราจะทำทำงานต่าง ๆ ได้ลำบากขึ้น ตาเป็นอวัยวะที่สำคัญมา กังนั้นเรต้องดูแลรักษาตาอย่างทะนุถนอม
การทำความสะอาดและระวังรักษาตา
1. 
เมื่อมีผลเข้าตา ควรลืมตาในน้ำสะอาด อย่าใช้นิ้วขยี้ตา
2. 
อ่านหนังสือในที่ ที่มีแสงสว่างเพียงพอ และเมื่ออ่านหนังสือนาน ๆ ควรหยุดพักสายตา โดยหลับตาสักครู่ หรือมองไปไกล ๆ
3. 
อย่าดูโทรศัพท์ใกล้จอภาพมากเกินไป ควรดูห่างประมาณ 12 ฟุต และภายในห้องควรมีแสงสว่างเพียงพอ

4. 
ไม่อ่านหนังสือบนรถ หรือในเรือที่กำลังแล่น หรือที่ที่มีแสงน้อย
5. 
อย่าใช้ผ้าเช็ดหน้าร่วมกับผู้อื่น
6. 
ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับตาควรไปพบแพทย์โดยด่วน
หู เรามีหู 2 หู หูของเราใช้ฟังเสียงแต่การที่เราได้ยินเสียงดังมาก ๆ บ่อย ๆ หรือเกิดอุบัติเหตุบาง อย่างกับหู อาจทำให้หูตึงหรือหูหนวกได้ เมื่อหูหนวกแล้วเราจะไม่ได้ยินเสียงอะไรเลย เราต้องทะนุถนอมหูดังนี้
การทำความสะอาดและดูแลรักษาหู
1. 
เวลาอาบน้ำหรือสระผมควรระวังอย่าให้น้ำเขาหู
2. 
หลังอาบน้ำเสร็จ ควรใช้ผ้าเช็ดใบหูและกกหู
3. 
หลีกเลี่ยงการฟังเสียงที่ดังเกินไป
4. 
ไม่ตะโกนใส่หู ตบหู หรือแหย่รูหูกันเล่น
5. 
ไม่ควรแคะหูเอง ถ้ารู้สึกว่ามีขี้หูมาก หรือมีอะไรเข้าหูควรบอกผู้ใหญ่
6. 
หลีกเลี่ยงการสั่งนำมูกแรง ๆ
จมูก เรามีจมูกอยู่ 1 จมูก จมูกมีหน้าที่หายใจและรับกลิ่น เช่นกลิ่นหอมของดอกไม้ กลิ่นเหม็นของขยะ เป็นต้น เราต้องดูแลรักษาจมูกให้ดีอย่าให้เป็นอันตรายดังนี้
การทำความสะอาดและการระวังรักษาจมูก
1. 
ควรใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำหมาด ๆ เช็ดในรูจมูก ๆ เมื่อฝุ่นหรือน้ำมูกติดอยู่
2. 
ไม่ควรอยู่ในที่ที่มีอากาศสกปรก หรือมีฝุ่นละอองมาก ๆ
3. 
ไม่ควรใช้นิ้วมือหรือวัตถุแข็ง ๆ แคะจมูกเพราะจะทำให้จมูกอักเสบและติดเชื้อโรคได้ง่าย
4. 
ไม่ควรสั่งน้ำมูกแรง ๆ เมื่อเป็นหวัด
5. 
ไม่ถอนขนจมูกทิ้ง หรือตัดให้สั้น เพราะจะทำให้ฝุ่นละอองและเชื้อโรคขู่ร่างกายได้ง่าย
6. 
ระวังไม่ให้จมูกได้รับการกระแทกอย่างแรง เพราะอาจทำให้เลือดกำเดาไหล
7. 
ไม่นำเมล็ดผลไม้หรือสิ่งต่าง ๆ ใส่ในจมูกเล่น เพราะอาจจะหลุดเข้าไปในรูจมูกและปิดทางเดินหายใจ อาจทำให้ถึงตายได้
8. 
หากมีอาการผิดปกติที่จมูกควรรีบปรึกษาแพทย์
การทำความสะอาดรักษามือและนิ้วมือ
1. 
ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ ก่อนรับประทานอาหารและหลังจากเข้าห้องน้ำ
2. 
ไม่อมนิ้วมือเพระจะทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย

3. 
ควรตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ
4. 
ควรสามถุงมือเมื่อต้องสัมผัสกับสารเคมี เช่น ผงซักฟอก ยาย้อมผม น้ำยาล้างจาน เป็นต้น
ขาและเท้า เรามีขาและเท้า 2 ข้าง เท้าแต่ละข้างมี 5 นิ้ว เท้าเป็นอวัยวะที่ต้องรับน้ำหนักของร่างกายขณะที่เคลื่อนไหว ไปไหนมาไหน เท้าจะสัมผัสสิ่งต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา จึงสกปรกง่านเราต้องหมั่นทำความสะอาดอยู่เสมอ ดังนี้
การทำความสะอาดและดูแลรักษาเท้า
1. 
ล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำสะอาดหลังจากเหยียบย่ำสิ่งสกปรก
2. 
ตัดเล็บเท้าให้สั้นอยู่เสมอ ถ้าไว้เล็กเท้าอาจจะเป็นที่สะสมของเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ง่าย
3. 
เมื่อล้างเท้าแล้วควรเช็ดให้แห้ง
4. 
สวมรองเท้าเพื่อป้องกันเชื้อโรคและอันตรายจากของมีคม และควรสมรองเท้าที่เหมาะกับเท้า



การดูแลอวัยวะในช่องปาก 
ลิ้น
     
ลิ้นเป็นอวัยวะในช่องปาก ทำหน้าที่ช่วยคลุกเคล้าอาหารและรับความรู้สึกเกี่ยวกับรสชาติของอาหาร การที่ลิ้นสามารถรับรู้รสชาติของอาหารได้นั้น เพราะมีอวัยวะในการรับรู้รส เรียกว่า ตุ่มรับรส (taste buds) อยู่บนลิ้น
ตุ่มรับรส
     
มีลักษณะกลมรี ประกอบด้วยเซลล์รูปทรงกระสวย และปลายเส้นประสาทที่รับรู้รสสามเส้น
     
ตุ่มรับรสส่วนใหญ่พบที่ด้านหน้า และด้านข้างของลิ้น ส่วนบนของต่อมทอนซิล เพดานปาก และหลอดคอ พบเป็นส่วนน้อย จากการทดลองแล้วปรากฎว่า ตุ่มรับรสมีอย่างน้อยที่สุด ประมาณ 4 ชนิดด้วยกัน ซึ่งจะคอยรับรสแต่ละอย่าง คือ
     1.
รสหวาน
     2.
รสเค็ม
     3.
รสขม
     4.
รสเปรี้ยว
     
ตุ่มรับรสเหล่านี้อยู่ตามบริเวณต่างๆ บนลิ้น
การรู้รส
     
การรู้รสเป็นความรู้สึกที่เกิดได้โดยปฏิกิริยาทางเคมี คือ เมื่ออาหารเข้าสู่ปาก อาหารก็จะทำปฎิกริยากับน้ำย่อยและน้ำลายในปาก เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ซึ่งกระตุ้นให้ตุ่มรับรสที่คิยรับการเปลี่ยนแปลงทางเคมี รับรู้ถึงรสชาติของอาหาร แล้วส่งความรู้สึกผ่านเส้นประสาทสมองสามเส้นเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลาง เพื่อ แปลความหมายที่สมองว่าเป็นรสอะไร และแปลความหมายว่าร้อนหรือเย็นได้ด้วย
     
มนุษย์สามารถแยกการรู้รสต่างๆ ได้อย่างง่ายๆ 4 รส ด้วยกันคือ
     1.
รสหวาน(Sweet) เกิดจากสารเคมีหลายชนิด ได้แก่ น้ำตาล แอลกอฮอล์ กรดอมิโน และเกลืออนินทรีย์ของตะกั่ว
     2.
รสเค็ม(Salty) เกิดจากอณูของเกลือ
     3.
รสขม(Bitter) เกิดจากสารสองชนิดโดยเฉพาะ คือ
       3.1
สารอินทรีย์ที่มีโมเลกุล
       3.2
พวกอัลคาลอยด์ ซึ่งได้แก่ยาหลายชนิด เช่น ควินิน กาเฟอีน สตริกนิน เป็นต้น
     4.
รสเปรี้ยว(sour) เกิดจากความเป็นกรด
     
จากการทดสอบความไวในการรับรู้รสชนิดต่างๆ พบว่า มนุษย์มีความรู้สึกเกี่ยวกับรสได้ไวที่สุด ซึ่งคาดคะเนว่าเป็นกลไกตามธรรมชาติที่มีป้องกันตัว โดยสังเกตได้จาก การกินอาหารที่มีรสขมมากๆ มนุษย์หรือสัตว์จะคายอาหารออก ซึ่งนับว่าเป็นผลดี เพราะสารพิษหลายอย่างในธรรมชาติมีรสขมจัด
     
เมื่อเราไม่สบาย ลิ้นจะมีฝ้าขาว ทำให้ไม่รู้รส จึงกินอาหารไม่อร่อย และเบื่ออาหาร ถ้าไม่สบายต้องดื่มน้ำบ่อยๆ กินอาหารที่มีประโยชน์ และพักผ่อนให้เพียงพอ
การดูแลรักษาลิ้น
     
ในยามปกติ เราก็ควรระวังรักษาลิ้นมิให้เป็นโรคหรืออันตรายต่างๆ ด้วยการทำความสะอาดลิ้นอยู่เสมอ เวลากินอาหารควรค่อยๆ เคี้ยว ไม่ควรรีบร้อน เพราะอาจกัดลิ้นตนเองเป็นแผลได้และไม่ควรกิน อาหารที่ร้อนมากๆ หรืออาหารที่มีรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เพราะทำให้ลิ้นชาได้ หมั่นสังเกตว่าลิ้นเป็นฝ้าขาว หรือเป็นแผลหรือไม่ ถ้ามีอาการผิดปกติดังกล่าวก็ควร รีบรักษา
การทำความสะอาดและดูแลรักษาปากและฟัน
ปากและฟัน ปากเป็นอวัยวะที่มีหน้าที่เป็นช่องทางรับอาหารเข้าสู่ร่างกาย ใช้สำหรับพูดคุย ภายในปากยังมีฟันมีหน้าที่บดเคี้ยวอาหาร และลิ้นที่ช่วยในการรับรส เช่น เปรี้ยว หวาน เค็ม ขม เป็นต้น
ฟัน มีหน้าที่ฉีกอาหาร และบดเคี้ยวอาหารให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อกลืนเข้าไปในลำคอเข้าสู่ร่างกาย ฟันคนเรามี 2 ชุด คือ ฟันน้ำนมและฟันแท้
วิธีแปรงฟัน
        การแปรงฟันควรแปรงให้ทั่วถึงทุกซี่และทุกด้านของฟันที่แปรงสีฟันเข้าถึง
เวลาแปรงไม่จำเป็นต้องออกแรงกดมาก ๆ การแปรงฟันครั้งหนึ่ง ๆ ควรใช้เวลานาน 2 – 3 นาที
การจับแปรงสีฟัน ควรจับด้ามแปรงด้วยนิ้ว 4 นิ้ว ส่วนนิ้วหัวแม่มือจะวางกดอยู่บนด้ามแปรง
สามารถขยับนิ้วให้แปรงสีฟันปัดขึ้นหรือปัดลงได้ถนัดมือ
1. แปรงฟันทุกวันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง คือ ก่อนเข้านอน และหลังตื่นนอนตอนเช้า ทุกครั้งที่แปรงฟันจะต้องแปรงให้ถูกวิธี
2. 
หลังรับประทานอาหารควรแปรงฟัน หรือบ้วนปากด้วยน้ำสะอาดทุกครั้ง
3. 
อย่าใช้ไม้จิ้มฟัน แคะฟัน
4. 
ควรรับประทานผักผลไม้ที่มีกากใย เช่น แตงกว่า มะเขือเทศ ชมพู่ จะช่วยนวดเหงือกและฟัน
5. 
ไม่รับประทานอาหารพวกลูกอม (ท๊อฟฟี่) และอาหารที่มีรสหวานจัด เพราะอาจทำให้ฟันผุได้
6. 
ควรไปตรวจสุขภาพฟันทุก ๆ 6 เดือน
ขั้นตอนและการแปรงฟันที่ถูกต้อง
1. ฟันบน ใช้ขนแปรงปัดจากบนลงล่าง
2. ฟันล่าง ใช้ขนแปรงปัดจากล่างขึ้นบน
3. ฟันกราม ใช้ขนแปรงถูไปมา
4. ฟันหน้า ใช้ขนแปรงปัดจากบนลงล่าง
นิ้วและนิ้วมือ เรามีมือ 2 ข้าง มือแต่ละข้างมี 5 นิ้ว เราใช้มือและนิ้วหยิบจับสิ่งของและทำงาน ดังนั้นมือและนิ้วมือจึงเป็นอวัยวะที่สกปรกได้ง่าย เราจึงควรล้างมือและนิ้วมือให้สะอาดอยู่เสมอ โดยเฉพาะก่อนหรือเตรียมอาหารและหลังรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ ห้องส้วม หลังจามหรือไอ หลังเล่นกับสัตว์เลี้ยง หรือกลับมาจากนอกบ้าน
การดูแลรักษาเหงือกและฟัน
     การดูแลเหงือกและฟันอย่างถูกวิธีจะช่วยให้เหงือกและฟันสะอาดแข็งแรงสามารถป้องกัน
โรคฟันผุ และโรคเหงือกอักเสบได้ เราควรปฏิบัติต่อเหงือกและฟันอย่างสม่ำเสมอ ดังนี้
1. ควรแปรงฟันให้ถูกวิธีหลังอาหารทุกมื้อ หากไม่สะดวกก็ควรบ้วนหากแรงๆด้วยน้ำสะอาดทุกครั้ง
ภายหลังรับประทานอาหารและต้องแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง คือ ตื่นนอน และ ก่อนเข้านอน
 2. หลังแปรงฟันอาจใช้นิ้วสะอาดถูนวดเหงือกเบา ๆ ทุกด้าน เพื่อช่วยให้เหงือกแข็งแรง
3. รับประทานผักและผลไม้ที่ช่วยบำรุงเหงือก และช่วยทำความสะอาดฟันแบบง่าย ๆ เช่น
ส้ม มันแกว ฝรั่ง ชมพู่ เป็นต้น
4. หลีกเลี่ยงการกัดหรือฉีกของแข็งด้วยฟัน เช่น ฉีกถุงพลาสติก กัดเชือกให้ขาด
ใช้ฟันเปิดจุกขวด เป็นต้น เพราะอาจทำให้ฟันบิ่น แตก หรือโยกได้
5. สังเกตดูฟันและเหงือกภายหลังการแปรงฟัน โดยการส่องกระจกดูในช่องปากเป็นครั้งคราว
หากพบจุดดำที่ตัวฟันรอยบวมแดงบนเหงือก หรือคราบหินปูนแข็งตามขอบเหงือก
ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจรักษาโดยเร็ว
6. ไม่ควรแคะฟันโดยไม่จำเป็น เพราะจะทำให้ซอกฟันเป็นร่อง และอาจติดเชื้อได้ง่าย
7. ในกรณีที่ฟันน้ำนมโยกทำให้ปวดฟันขณะรับประทานอาหารหรือแปรงฟันหรือฟันผุ
จนเหลือแต่ราก ไม่มีตัวฟันเลย ทำให้รักษาโพรงประสาทฟันไม่ได้ควรปรึกษาทันตแพทย์
เพื่อถอนทันที






วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมการเรียนสัปดาห์ที่ 1

กิจกรรมการเรียนรู้


1.ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
     1.1 ทำความรู้จัก โดยการแนะนำชื่อของนักเรียน และแนะนำชื่อครูผู้สอนให้นักเรียนรู้จัก     
     1.2 ถามถึงลักษณะและหน้าที่ของอวัยวะภายนอกและวิธีดูแลรักษาอวัยวะภายนอก
     1.3 ทำแบบทดสอบก่อนเรียน โดยใช้ weblog

2.ขั้นสอน

    2.1 เข้าไปศึกษาเนื้อหาใน weblog   http://aodood.blogspot.com/2012/01/1_31.html
  
หัวข้อการศึกษา
    สัปดาห์ที่ 1 
            1. อธิบายถึงลักษณะและหน้าที่ของอวัยวะภายนอก
    สัปดาห์ที่ 2
            2. อธิบายถึงวิธีดูแลรักษาอวัยวะภายนอก


3.ขั้นสรุป
     3.1 ทบทวนบทเรียนทั้งหมด โดยการพูดไปซักถามนักเรียนไปด้วย
     3.2 เปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามในข้อที่สงสัย

4.ขั้นประเมินผล
  
     4.1 ทำแบบทดสอบหลังเรียน
                         

วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

แผนการเรียนรู้


แผนการเรียนรู้การเรียนการสอนโดยใช้นวัตกรรม Weblog

วิชา สุขศึกษา สาระที่ 1 เรื่อง การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์

มาตรฐาน พ.1.1 เรื่องเข้าใจธรรมชาติของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1



สัปดาห์ที่ 1           ตัวชี้วัดที่ 1 สาระแกนกลาง ลักษณะและหน้าที่ของอวัยวะภายนอกที่มีการเจริญเติบโต

                                                                       และพัฒนาการไปตามวัย

                                                                       -  ตา หู  คอ  จมูก  ผม มือ  เท้า  เล็บ  ผิวหนัง  ฯลฯ

                                                                       -  อวัยวะในช่องปาก (ปาก ลิ้น  ฟัน เหงือก)

สัปดาห์ที่ 2           ตัวชี้วัดที่ 2 สาระแกนกลาง การดูแลรักษาอวัยวะภายนอก

                                                                       -  ตา หู คอ จมูก  ปาก ลิ้น  ฟัน  ผม  มือ  เท้า เล็บ  ผิวหนัง ฯลฯ

                                                                       - อวัยวะในช่องปาก  (ปาก  ลิ้น ฟัน  เหงือก)

จุดประสงค์การเรียนรู้

1.สามารถอธิบายลักษณะและหน้าที่ของอวัยวะภายนอก

2.สามารถอธิบายวิธีดูแลรักษาอวัยวะภายนอก



สื่อการเรียนการสอน






กิจกรรมการเรียนรู้

1.ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

     1.1 ทำความรู้จัก โดยการแนะนำชื่อของนักเรียน และแนะนำชื่อครูผู้สอนให้นักเรียนรู้จัก     

     1.2 ถามถึงลักษณะและหน้าที่ของอวัยวะภายนอกและวิธีดูแลรักษาอวัยวะภายนอก

    1.3 ทำแบบทดสอบก่อนเรียน โดยใช้ weblog


2.ขั้นสอน
   
หัวข้อการศึกษา
สัปดาห์ที่ 1

      1.อธิบายถึงลักษณะและหน้าที่ของอวัยวะภายนอก


สัปดาห์ที่ 2

      2. อธิบายถึงวิธีดูแลรักษาอวัยวะภายนอก

3.ขั้นสรุป

     3.1 ทบทวนบทเรียนทั้งหมด โดยการพูดไปซักถามนักเรียนไปด้วย

     3.2 เปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามในข้อที่สงสัย



4.การประเมินผล

   สัปดาห์ที่ 1    แบบทดสอบก่อนเรียน
                      แบบทดสอบหลังเรียน
   สัปดาห์ที่ 2    แบบทดสอบก่อนเรียน
                      แบบทดสอบหลังเรียน

 

วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555

ประมวลรายวิชา


ประมวลรายวิชา (Course syllabus)


สารการเรียนรู้        สุขศึกษา

สาระที่   1                การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์

มาตรฐาน พ.1.1      เข้าใจธรรมชาติของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์


ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

ตัวชี้วัด              1. อธิบายลักษณะและหน้าที่ของอวัยวะภายนอก

                                   2. อธิบายวิธีดูแลรักษาอวัยวะภายนอก

สาระแกนกลาง      ลักษณะและหน้าที่ของอวัยวะภายนอกที่มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการไปตามวัย

                                  -  ตา หู  คอ  จมูก  ผม มือ  เท้า  เล็บ  ผิวหนัง  ฯลฯ

                                  -  อวัยวะในช่องปาก (ปาก ลิ้น  ฟัน เหงือก)

                                 การดูแลรักษาอวัยวะภายนอก

                                  -  ตา หู คอ จมูก  ปาก ลิ้น  ฟัน  ผม  มือ  เท้า เล็บ  ผิวหนัง ฯลฯ

                                  - อวัยวะในช่องปาก  (ปาก  ลิ้น ฟัน  เหงือก)



โครงสร้างเนื้อหาและปฏิทินการเรียน

สัปดาห์ที่ ๑    อธิบายลักษณะและหน้าที่ของอวัยวะภายนอก(ทฤษฎี   1 ชั่วโมง)

สัปดาห์ที่ ๒    อธิบายวิธีดูแลรักษาอวัยวะภายนอก(ทฤษฎี 1 ชั่วโมง)


รูปแบบการเรียน

การเรียนแบบผสมผสาน         สัดส่วนของการจัดการเรียน         70 % ในชั้นเรียน

                                                                                                       30 % ออนไลน์

                                                                                                   

สื่อทางอินเทอร์เน็ต  http://aodood.blogspot.com/

การวัดและประเมินผล  ข้อสอบออนไลน์โดยใช้ กูเกิลฟอร์ม ในการจัดทำข้อสอบ เพื่อวัดผลการเรียนของนักเรียน


โครงงาน


โครงงานออกแบบระบบการเรียนการสอนโดยใช้นวัตกรรม Weblog


วิชา   สุขศึกษา





เสนอโดย


นาย จตุรงค์      ผาทอง           รหัสประจำตัวนักศึกษา 53161301038





1. หลักการและเหตุผล


                      ปัจจุบันเป็นยุคแห่งโลกาภิวัตน์   ซึ่งเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในการเรียนการสอน และทั้งในชีวิตประจำวันของมากขึ้น กานนำเอาเทคโนโลยีมาเป็นสื่อในการสอนเป็นทางเลือกในการสอนอีกทางหนึ่งที่ได้รับความนิยมมาก และมีความสะดวกของครูผู้สอนและผู้เรียนเพื่อใช้ในการศึกษาในวิชานั้นๆและเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้สื่อนวัตกรรม Weblog เป็น สื่อการเรียนการสอนได้อย่างชำนาญ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของผู้เรียน จึงได้จัดทำสื่อการเรียนของรายวิชา โดยใช้นวัตกรรม weblog มา เป็นสื่อการเรียนการสอน สำหรับวิชาสุขศึกษา เพื่อเป็นการทดลองใช้สื่อการสอนกับผู้เรียนในชั้นเรียน และนอกชั้นเรียน ให้เข้าถึงจุดประสงค์และศึกษารายวิชาสุขศึกษาได้ด้วยตนเอง


2.  วัตถุประสงค์


              เพื่อสร้างสื่อการสอน








3.   กลุ่มเป้าหมาย


                       นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1





4.   วิธีดำเนินงาน


          
           4.1  วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางสาระวิชาพลศึกษา
              4.2 เชียนโครงงาน          
           4.3 ออกแบบระบบการสอน
           4.4 เขียนประมวลรายวิชาและแผนการเรียนรู้
           4.5 กำหนดเนื้อหาและกิจกรรมการเรียน
           4.6 สร้างแบบทดสอบออนไลน์
           4.7 สร้าง web Blog และนำข้อมูลในข้อ 2-6 ขึ้นเว็บ






5.    ผู้รับผิดชอบโครงการ


                 นาย   จตุรงค์    ผาทอง ชั้นปีที่ 2/2 เลขที่ 3 คณะศึกษาศาสตร์ 
                    รหัสนักศึกษา 53161301038      สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานี


                         


6.     งบประมาณ


                           ไม่มี





7. สถานที่ดำเนินการ


                          1. ระบบ Internet ซึ่งดำเนินการติดตั้ง และดูแลโดยสถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตอุดรธานี


                          2. Weblog ที่ให้บริการโดย Google








8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ


           ได้สื่อการสอน นวัตกรรม Web blog วิชาสุขศึกษา




9.ที่ปรึกษาโครงงาน


                 อาจารย์ สุวลัยพร พันธ์โยธี



                       


วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

SepakTakraw SEA Games 2011 Indonesia-Thailand Men's Team -C

ตะกร้อ

ประวัติเซปักตะกร้อ


  คำว่า ตะกร้อ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานปี พ.ศ. 2525 ให้คำนิยาม ตะกร้อ ไว้ว่า ของเล่นชนิดหนึ่ง ลูกกลม สานด้วยหวายเป็นตาๆ สำหรับเตะ ปัจจุบันตะกร้อใช้วัสดุประเภทใยสังเคราะห์ หรือพลาสติกและไม่ได้สานด้วยมือ แต่ใช้เครื่องจักรและกรรมวิธีอื่นๆ เพราะหวายนั้นค่อนข้างหายากและขาดแรงงานฝีมือ ตะกร้อ ตะกร้อยังมีความหมายมากกว่าของเตะเล่น โดยปรากฏในพจนานุกรมอีกว่า เป็น เครื่องมือสอยผลไม้ มีด้ามยาว รูปรี ทำด้วยไม้เป็นซี่ เครื่องสานรูปทรงกระบอก สำหรับใส่ไว้ในประถางยาดองและกะปิ เพื่อกันเอาแต่น้ำ
                 ตะกร้อเป็นกีฬาที่ไม่แน่ชัดว่าเกิดขึ้นในประเทศใด สมัยใด และใครเป็นผู้คิดค้นการเล่นขึ้น แต่ประเทศที่นิยมเล่นตะกร้อมาเป็นเวลานานนั้นมีหลายประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย พม่า มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และจีน

จะ เห็นว่าตะกร้อเตะเล่นนั้น คนไทยเล่นมานานแล้วควบคู่ไปกับการเล่นกระบี่กระบอง เนื่องจากประเทศไทยมีป่าที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยหวาย จึงได้ตัดหวายมาดัดแปลงเป็นอาวุธโบราณจำลอง เพื่อใช้ในการต่อสู้แทนอาวุธจริง แต่ไทยเราเริ่มสานตะกร้อเล่นเมื่อไหร่กันแน่นั้น ยังหาข้อยุติไม่ได้ เมื่อประมวลความรู้ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีแล้ว น่าจะเชื่อได้ว่าคนไทยเริ่มเล่นตะกร้อกันจริงจังในสมัยอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ด้วยช่างนั้นเป็นระยะสงคราม ทหารต้องเดินทางยาวนาน เมื่อถึงทำเลที่เหมาะก็จะสร้างค่ายพักแรมขึ้น ก็ไม่การทำไร่ไถนา ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์เพื่อใช้เป็นเสบียง ในช่วงนี้เองทหารมีเวลาพักผ่อน บ้างก็ออกไปลาดตะเวนด้วยพาหนะม้า จึงได้มีการสานตะกร้อหุ้มปากม้าเพื่อป้องกันมิให้ม้าร้องส่งเสียงดังเพราะจะ ทำให้การลาดตระเวนไม่เป็นผล บ้างก็หาของป่าทั้งสัตว์และพืชมาเป็นอาหาร และได้พบว่ายอดหวายเป็นอาหารวิเศษของเหล่าทหาร เมื่อตัดหวายและนำยอดมาประกอบอาหารส่วนลำต้นก็นำมาสานเตะเล่น เหตุเพราะคนไทยรักในกีฬาประเภทเตะต่อยเป็นทุนเดิมอยู่แล้วเมื่อเห็นว่าเตะ แล้วให้ความสนุกสนานร่าเริง จึงได้ตัดหวายแล้วนำมาสานเตะเล่นกันอย่างแพร่หลายในกองทัพ นอกจากนี้ยังมีการโยนรับด้วยมืออีกด้วย มีข้อความบันมึกไว้ว่าทางราชการได้สานตะกร้อขนาดใหญ่สำหรับใส่นักโทษที่ กระทำความผิดร้ายแรงให้ช้างเตะไปตามถนน เป็นไปได้ว่า คนไทยเรามีฝีมือในการสานตะกร้อชนิดต่างๆ มานานแล้ว โดยเฉพาะตะกร้อที่ใช้เตะ และน่าจะเป็นชาติแรกในโลกที่เล่นตะกร้อ อย่างไรก็ตาม คงจะมีทหารกองสอดแนมของพม่าได้พบเห็นเข้า จึงตัดหวายไปลองสานดูบ้าง แต่สานเป็นแบบหลวมโปร่ง มีน้ำหนักน้อย  เพราะอาจจะดูการสานของไทยไม่ถนัด พม่าจึงเรียกหวายที่สานเป็นตะกร้อขึ้นแบบหลวม ๆ ว่า ชินลง ( CHINLONG )
            ทางตอนใต้ของประเทศไทย ประเทศมาเลเซียก็นิยมเล่นตะกร้อที่สานด้วยหวายเช่นกัน เนื่องจากมีต้นหวายขึ้นหนาแน่นในบริเวณนั้น เข้าใจว่าคงได้แบบอย่างไปจากพม่าและไทยปะปนกัน ในระยะหลังๆ ลูกตะกร้อที่มาเลเซียสานขึ้นมานั้นจึงมีลักษณะสองชั้น ตะกร้อลูกเล็กอยู่ชั้นในโดยสานแน่นแบบไทย ส่วนชั้นนอกนั้นสานหลวม ๆ แบบพม่า ตะกร้อแบบมาเลเซียจึงมีน้ำหนักมากและมีความยืดหยุ่นได้ดี ชาวมาเลเซียเรียกตะกร้อว่า เซปัก รากา  (  SEPAK RAKA )
           นอกจากนี้ประเทศฟิลิปปินส์ที่เล่นตะกร้อ แต่เรียกตะกร้อว่า ซิปัก ( SIPAK ) เข้าใจว่าอาจเรียกตามแบบมาเลเซีย แต่ฟิลิปปินส์มาฝึกเล่นภายหลัง
           เมื่อพิจารณาจากงานเขียนของ เฟรเดอริค อาร์เธอร์  นีลซึ่งได้เขียนหนังสือเรื่อง  NARRATIVE  OF
A RESIDENCE INSIAM ตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1852 ได้กล่าวถึงตะกร้อชนิดหนึ่ง เป็นลูกหนังแล้วปีกด้วยขนไก่ พร้อมทั้งมีภาพเขียนคนไว้ผมจุกล้อมลงเตะตะกร้อชนิดนี้อยู่ การเตะตะกร้อยังมีการกล่าวถึงในหนังสือพงศาวดารจีนเรื่อง ซุยถัง อีกด้วย จึงเป็นข้อมูลที่น่าพิจารณาว่าใครได้แบบอย่างไปจากใคร อนึ่งในภาพคนล้อมวงเตะตะกร้อที่เล่นอยู่ในประเทศจีน และมีการกล่าวไว้ในซุยถังนั้น น่าจะเป็นชนเผ่าไตหลายเผ่าพันธุ์ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกัน มีภูมิลำเนาอาศัยอยู่ในแผ่นดินจีน ถ้าเป็นเช่นนั้นก็สรุปได้ว่าชาวไตหรือชาวไทเล่นตะกร้อก่อนชนชาติอื่น
           จีนเป็นอีกประเทศหนึ่งที่นิยมเล่นตะกร้อ โดยเรียกตะกร้อว่า เตกโก ( T’EK K’AU ) ซึ่งออกเสียงคล้ายคำว่า ตะกร้อ ของไทย หรือเป็นไปได้ว่าชนเผ่าไตที่อยู่ภายใต้การครอบครองได้เล่นตะกร้อและเรียกว่าเตกโก และคำนี้เองเป็นต้นเค้าของคะว่าตะกร้อหรือกะต้อ ( คำที่ชาวอีสานเรียก ) ซึ่งใช้มาจนถึงปัจจุบัน
           อย่างไรก็ตาม การเล่นตะกร้อมีลักษณะที่เหมือนกันคือ ใช้เท้าเตะหรือใช้อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ส่วนชื่อที่ใช้เรียกตะกร้อก็เรียกกันไปตามภาษาของแต่ละประเทศ เช่น พม่าเรียกว่า ชินลง ( CHINLON )  มาเลเซียเรียกว่า เซปัก รากา”  ( SAPAK RAKA ) ฟิลิปปินส์เรียกว่า ซิปัก ( SIPAK )  จีนเรียกว่า เตกโก ( T’EK K’AU ) ไทยเรียกว่า     “ตะกร้อ ( TAKRAW )
            ปัจจุบันกีฬาตะกร้อได้รับการส่งเสริมให้มีการเล่นกันอย่างแร่หลายมากขึ้น เพราะนอกจากหน่วยงานต่างๆ และสมาคมกีฬาไทยจะจัดให้มีการแข่งขันกีฬาตะกร้อเป็นประจำแล้ว กระทรวงศึกษาธิการ ยังกำหนดเนื้อหาวิชาตะกร้อไว้ในหลักสูตร   ให้นักเรียนได้เรียนเป็นวิชาพลศึกษาในโรงเรียนอีกด้วย           



ที่มา http://203.172.208.244/web/stu01/site2_1/index2.htm