วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

เนื้อหาสัปดาห์ที่ 2

การดูแลรักษาอวัยวะภายนอก
การทำความสะอาดผิวหนัง
1. 
อาบน้ำถูสบู่ ชำระร่างกายให้สะอาด อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง คือ ตอนเช้า และตอนเย็น
2. 
เช็ดตัวให้แห้ง ทาแป้ง และเปลี่ยนเสื้อผ้าชุดใหม่ที่สะอาดทุกครั้ง
3. 
ควรออกกำลังกาย และให้ผิวหนังได้รับแสงแดดอ่อน ๆ ผิวหนังที่สะอาดทำให้เรารู้สึกสดชื่น ไม่มีกลิ่น และไม่เป็นโรคผิวหนัง
ตา เป็นอวัยวะภายนอกที่สำคัญยิ่งของคนเรา เรามีตา 2 ตา ตาของเรามีหน้าที่ดูสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเราถ้าตาบอดเราจะทำทำงานต่าง ๆ ได้ลำบากขึ้น ตาเป็นอวัยวะที่สำคัญมา กังนั้นเรต้องดูแลรักษาตาอย่างทะนุถนอม
การทำความสะอาดและระวังรักษาตา
1. 
เมื่อมีผลเข้าตา ควรลืมตาในน้ำสะอาด อย่าใช้นิ้วขยี้ตา
2. 
อ่านหนังสือในที่ ที่มีแสงสว่างเพียงพอ และเมื่ออ่านหนังสือนาน ๆ ควรหยุดพักสายตา โดยหลับตาสักครู่ หรือมองไปไกล ๆ
3. 
อย่าดูโทรศัพท์ใกล้จอภาพมากเกินไป ควรดูห่างประมาณ 12 ฟุต และภายในห้องควรมีแสงสว่างเพียงพอ

4. 
ไม่อ่านหนังสือบนรถ หรือในเรือที่กำลังแล่น หรือที่ที่มีแสงน้อย
5. 
อย่าใช้ผ้าเช็ดหน้าร่วมกับผู้อื่น
6. 
ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับตาควรไปพบแพทย์โดยด่วน
หู เรามีหู 2 หู หูของเราใช้ฟังเสียงแต่การที่เราได้ยินเสียงดังมาก ๆ บ่อย ๆ หรือเกิดอุบัติเหตุบาง อย่างกับหู อาจทำให้หูตึงหรือหูหนวกได้ เมื่อหูหนวกแล้วเราจะไม่ได้ยินเสียงอะไรเลย เราต้องทะนุถนอมหูดังนี้
การทำความสะอาดและดูแลรักษาหู
1. 
เวลาอาบน้ำหรือสระผมควรระวังอย่าให้น้ำเขาหู
2. 
หลังอาบน้ำเสร็จ ควรใช้ผ้าเช็ดใบหูและกกหู
3. 
หลีกเลี่ยงการฟังเสียงที่ดังเกินไป
4. 
ไม่ตะโกนใส่หู ตบหู หรือแหย่รูหูกันเล่น
5. 
ไม่ควรแคะหูเอง ถ้ารู้สึกว่ามีขี้หูมาก หรือมีอะไรเข้าหูควรบอกผู้ใหญ่
6. 
หลีกเลี่ยงการสั่งนำมูกแรง ๆ
จมูก เรามีจมูกอยู่ 1 จมูก จมูกมีหน้าที่หายใจและรับกลิ่น เช่นกลิ่นหอมของดอกไม้ กลิ่นเหม็นของขยะ เป็นต้น เราต้องดูแลรักษาจมูกให้ดีอย่าให้เป็นอันตรายดังนี้
การทำความสะอาดและการระวังรักษาจมูก
1. 
ควรใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำหมาด ๆ เช็ดในรูจมูก ๆ เมื่อฝุ่นหรือน้ำมูกติดอยู่
2. 
ไม่ควรอยู่ในที่ที่มีอากาศสกปรก หรือมีฝุ่นละอองมาก ๆ
3. 
ไม่ควรใช้นิ้วมือหรือวัตถุแข็ง ๆ แคะจมูกเพราะจะทำให้จมูกอักเสบและติดเชื้อโรคได้ง่าย
4. 
ไม่ควรสั่งน้ำมูกแรง ๆ เมื่อเป็นหวัด
5. 
ไม่ถอนขนจมูกทิ้ง หรือตัดให้สั้น เพราะจะทำให้ฝุ่นละอองและเชื้อโรคขู่ร่างกายได้ง่าย
6. 
ระวังไม่ให้จมูกได้รับการกระแทกอย่างแรง เพราะอาจทำให้เลือดกำเดาไหล
7. 
ไม่นำเมล็ดผลไม้หรือสิ่งต่าง ๆ ใส่ในจมูกเล่น เพราะอาจจะหลุดเข้าไปในรูจมูกและปิดทางเดินหายใจ อาจทำให้ถึงตายได้
8. 
หากมีอาการผิดปกติที่จมูกควรรีบปรึกษาแพทย์
การทำความสะอาดรักษามือและนิ้วมือ
1. 
ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ ก่อนรับประทานอาหารและหลังจากเข้าห้องน้ำ
2. 
ไม่อมนิ้วมือเพระจะทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย

3. 
ควรตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ
4. 
ควรสามถุงมือเมื่อต้องสัมผัสกับสารเคมี เช่น ผงซักฟอก ยาย้อมผม น้ำยาล้างจาน เป็นต้น
ขาและเท้า เรามีขาและเท้า 2 ข้าง เท้าแต่ละข้างมี 5 นิ้ว เท้าเป็นอวัยวะที่ต้องรับน้ำหนักของร่างกายขณะที่เคลื่อนไหว ไปไหนมาไหน เท้าจะสัมผัสสิ่งต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา จึงสกปรกง่านเราต้องหมั่นทำความสะอาดอยู่เสมอ ดังนี้
การทำความสะอาดและดูแลรักษาเท้า
1. 
ล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำสะอาดหลังจากเหยียบย่ำสิ่งสกปรก
2. 
ตัดเล็บเท้าให้สั้นอยู่เสมอ ถ้าไว้เล็กเท้าอาจจะเป็นที่สะสมของเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ง่าย
3. 
เมื่อล้างเท้าแล้วควรเช็ดให้แห้ง
4. 
สวมรองเท้าเพื่อป้องกันเชื้อโรคและอันตรายจากของมีคม และควรสมรองเท้าที่เหมาะกับเท้า



การดูแลอวัยวะในช่องปาก 
ลิ้น
     
ลิ้นเป็นอวัยวะในช่องปาก ทำหน้าที่ช่วยคลุกเคล้าอาหารและรับความรู้สึกเกี่ยวกับรสชาติของอาหาร การที่ลิ้นสามารถรับรู้รสชาติของอาหารได้นั้น เพราะมีอวัยวะในการรับรู้รส เรียกว่า ตุ่มรับรส (taste buds) อยู่บนลิ้น
ตุ่มรับรส
     
มีลักษณะกลมรี ประกอบด้วยเซลล์รูปทรงกระสวย และปลายเส้นประสาทที่รับรู้รสสามเส้น
     
ตุ่มรับรสส่วนใหญ่พบที่ด้านหน้า และด้านข้างของลิ้น ส่วนบนของต่อมทอนซิล เพดานปาก และหลอดคอ พบเป็นส่วนน้อย จากการทดลองแล้วปรากฎว่า ตุ่มรับรสมีอย่างน้อยที่สุด ประมาณ 4 ชนิดด้วยกัน ซึ่งจะคอยรับรสแต่ละอย่าง คือ
     1.
รสหวาน
     2.
รสเค็ม
     3.
รสขม
     4.
รสเปรี้ยว
     
ตุ่มรับรสเหล่านี้อยู่ตามบริเวณต่างๆ บนลิ้น
การรู้รส
     
การรู้รสเป็นความรู้สึกที่เกิดได้โดยปฏิกิริยาทางเคมี คือ เมื่ออาหารเข้าสู่ปาก อาหารก็จะทำปฎิกริยากับน้ำย่อยและน้ำลายในปาก เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ซึ่งกระตุ้นให้ตุ่มรับรสที่คิยรับการเปลี่ยนแปลงทางเคมี รับรู้ถึงรสชาติของอาหาร แล้วส่งความรู้สึกผ่านเส้นประสาทสมองสามเส้นเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลาง เพื่อ แปลความหมายที่สมองว่าเป็นรสอะไร และแปลความหมายว่าร้อนหรือเย็นได้ด้วย
     
มนุษย์สามารถแยกการรู้รสต่างๆ ได้อย่างง่ายๆ 4 รส ด้วยกันคือ
     1.
รสหวาน(Sweet) เกิดจากสารเคมีหลายชนิด ได้แก่ น้ำตาล แอลกอฮอล์ กรดอมิโน และเกลืออนินทรีย์ของตะกั่ว
     2.
รสเค็ม(Salty) เกิดจากอณูของเกลือ
     3.
รสขม(Bitter) เกิดจากสารสองชนิดโดยเฉพาะ คือ
       3.1
สารอินทรีย์ที่มีโมเลกุล
       3.2
พวกอัลคาลอยด์ ซึ่งได้แก่ยาหลายชนิด เช่น ควินิน กาเฟอีน สตริกนิน เป็นต้น
     4.
รสเปรี้ยว(sour) เกิดจากความเป็นกรด
     
จากการทดสอบความไวในการรับรู้รสชนิดต่างๆ พบว่า มนุษย์มีความรู้สึกเกี่ยวกับรสได้ไวที่สุด ซึ่งคาดคะเนว่าเป็นกลไกตามธรรมชาติที่มีป้องกันตัว โดยสังเกตได้จาก การกินอาหารที่มีรสขมมากๆ มนุษย์หรือสัตว์จะคายอาหารออก ซึ่งนับว่าเป็นผลดี เพราะสารพิษหลายอย่างในธรรมชาติมีรสขมจัด
     
เมื่อเราไม่สบาย ลิ้นจะมีฝ้าขาว ทำให้ไม่รู้รส จึงกินอาหารไม่อร่อย และเบื่ออาหาร ถ้าไม่สบายต้องดื่มน้ำบ่อยๆ กินอาหารที่มีประโยชน์ และพักผ่อนให้เพียงพอ
การดูแลรักษาลิ้น
     
ในยามปกติ เราก็ควรระวังรักษาลิ้นมิให้เป็นโรคหรืออันตรายต่างๆ ด้วยการทำความสะอาดลิ้นอยู่เสมอ เวลากินอาหารควรค่อยๆ เคี้ยว ไม่ควรรีบร้อน เพราะอาจกัดลิ้นตนเองเป็นแผลได้และไม่ควรกิน อาหารที่ร้อนมากๆ หรืออาหารที่มีรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เพราะทำให้ลิ้นชาได้ หมั่นสังเกตว่าลิ้นเป็นฝ้าขาว หรือเป็นแผลหรือไม่ ถ้ามีอาการผิดปกติดังกล่าวก็ควร รีบรักษา
การทำความสะอาดและดูแลรักษาปากและฟัน
ปากและฟัน ปากเป็นอวัยวะที่มีหน้าที่เป็นช่องทางรับอาหารเข้าสู่ร่างกาย ใช้สำหรับพูดคุย ภายในปากยังมีฟันมีหน้าที่บดเคี้ยวอาหาร และลิ้นที่ช่วยในการรับรส เช่น เปรี้ยว หวาน เค็ม ขม เป็นต้น
ฟัน มีหน้าที่ฉีกอาหาร และบดเคี้ยวอาหารให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อกลืนเข้าไปในลำคอเข้าสู่ร่างกาย ฟันคนเรามี 2 ชุด คือ ฟันน้ำนมและฟันแท้
วิธีแปรงฟัน
        การแปรงฟันควรแปรงให้ทั่วถึงทุกซี่และทุกด้านของฟันที่แปรงสีฟันเข้าถึง
เวลาแปรงไม่จำเป็นต้องออกแรงกดมาก ๆ การแปรงฟันครั้งหนึ่ง ๆ ควรใช้เวลานาน 2 – 3 นาที
การจับแปรงสีฟัน ควรจับด้ามแปรงด้วยนิ้ว 4 นิ้ว ส่วนนิ้วหัวแม่มือจะวางกดอยู่บนด้ามแปรง
สามารถขยับนิ้วให้แปรงสีฟันปัดขึ้นหรือปัดลงได้ถนัดมือ
1. แปรงฟันทุกวันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง คือ ก่อนเข้านอน และหลังตื่นนอนตอนเช้า ทุกครั้งที่แปรงฟันจะต้องแปรงให้ถูกวิธี
2. 
หลังรับประทานอาหารควรแปรงฟัน หรือบ้วนปากด้วยน้ำสะอาดทุกครั้ง
3. 
อย่าใช้ไม้จิ้มฟัน แคะฟัน
4. 
ควรรับประทานผักผลไม้ที่มีกากใย เช่น แตงกว่า มะเขือเทศ ชมพู่ จะช่วยนวดเหงือกและฟัน
5. 
ไม่รับประทานอาหารพวกลูกอม (ท๊อฟฟี่) และอาหารที่มีรสหวานจัด เพราะอาจทำให้ฟันผุได้
6. 
ควรไปตรวจสุขภาพฟันทุก ๆ 6 เดือน
ขั้นตอนและการแปรงฟันที่ถูกต้อง
1. ฟันบน ใช้ขนแปรงปัดจากบนลงล่าง
2. ฟันล่าง ใช้ขนแปรงปัดจากล่างขึ้นบน
3. ฟันกราม ใช้ขนแปรงถูไปมา
4. ฟันหน้า ใช้ขนแปรงปัดจากบนลงล่าง
นิ้วและนิ้วมือ เรามีมือ 2 ข้าง มือแต่ละข้างมี 5 นิ้ว เราใช้มือและนิ้วหยิบจับสิ่งของและทำงาน ดังนั้นมือและนิ้วมือจึงเป็นอวัยวะที่สกปรกได้ง่าย เราจึงควรล้างมือและนิ้วมือให้สะอาดอยู่เสมอ โดยเฉพาะก่อนหรือเตรียมอาหารและหลังรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ ห้องส้วม หลังจามหรือไอ หลังเล่นกับสัตว์เลี้ยง หรือกลับมาจากนอกบ้าน
การดูแลรักษาเหงือกและฟัน
     การดูแลเหงือกและฟันอย่างถูกวิธีจะช่วยให้เหงือกและฟันสะอาดแข็งแรงสามารถป้องกัน
โรคฟันผุ และโรคเหงือกอักเสบได้ เราควรปฏิบัติต่อเหงือกและฟันอย่างสม่ำเสมอ ดังนี้
1. ควรแปรงฟันให้ถูกวิธีหลังอาหารทุกมื้อ หากไม่สะดวกก็ควรบ้วนหากแรงๆด้วยน้ำสะอาดทุกครั้ง
ภายหลังรับประทานอาหารและต้องแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง คือ ตื่นนอน และ ก่อนเข้านอน
 2. หลังแปรงฟันอาจใช้นิ้วสะอาดถูนวดเหงือกเบา ๆ ทุกด้าน เพื่อช่วยให้เหงือกแข็งแรง
3. รับประทานผักและผลไม้ที่ช่วยบำรุงเหงือก และช่วยทำความสะอาดฟันแบบง่าย ๆ เช่น
ส้ม มันแกว ฝรั่ง ชมพู่ เป็นต้น
4. หลีกเลี่ยงการกัดหรือฉีกของแข็งด้วยฟัน เช่น ฉีกถุงพลาสติก กัดเชือกให้ขาด
ใช้ฟันเปิดจุกขวด เป็นต้น เพราะอาจทำให้ฟันบิ่น แตก หรือโยกได้
5. สังเกตดูฟันและเหงือกภายหลังการแปรงฟัน โดยการส่องกระจกดูในช่องปากเป็นครั้งคราว
หากพบจุดดำที่ตัวฟันรอยบวมแดงบนเหงือก หรือคราบหินปูนแข็งตามขอบเหงือก
ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจรักษาโดยเร็ว
6. ไม่ควรแคะฟันโดยไม่จำเป็น เพราะจะทำให้ซอกฟันเป็นร่อง และอาจติดเชื้อได้ง่าย
7. ในกรณีที่ฟันน้ำนมโยกทำให้ปวดฟันขณะรับประทานอาหารหรือแปรงฟันหรือฟันผุ
จนเหลือแต่ราก ไม่มีตัวฟันเลย ทำให้รักษาโพรงประสาทฟันไม่ได้ควรปรึกษาทันตแพทย์
เพื่อถอนทันที






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น